แนวคิด “Circular Economy” เศรษฐกิจหมุนเวียน ที่เป็นมากกว่าการ Reuse

แนวคิด “Circular Economy” เศรษฐกิจหมุนเวียน ที่เป็นมากกว่าการ Reuse ในยุคปัจจุบันรูปแบบของการผลิตและการจัดการทรัพยากร สินค้าและบริการที่มุ่งส่งเสริมการบริโภคในระยะสั้น กำลังนำโลกไปสู่สถานการณ์ที่ไม่ยั่งยืน เนื่องจากระบบเศรษฐกิจในปัจจุบันกำลังทำลายวงจรชีวิตของธรรมชาติ และขัดแย้งกับการพัฒนาที่ยั่งยืนโดยมุ่งเน้นในระยะยาว ในขณะที่ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่างจำกัด และสภาวะการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศมีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้น แนวคิด Circular Economy หรือ เศรษฐกิจหมุนเวียน จึงเป็นทางเลือกที่ทั่วโลกกำลังนำมาใช้ ซึ่งมีความซับซ้อนและครอบคลุมมากกว่าแค่การนำกลับมาใช้ใหม่ (Reuse) เพียงอย่างเดียว เปรียบเสมือนการพลิกโฉมระบบเศรษฐกิจแบบเดิมๆ ที่เน้นการผลิต บริโภค และทิ้งไป จึงนำไปสู่การตระหนักและให้ความสำคัญ ที่คำนึงถึงการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ลดปริมาณขยะ และสร้างมูลค่าเพิ่มอย่างยั่งยืนในอนาคต แนวคิด Circular Economy หรือ  เศรษฐกิจหมุนเวียน คืออะไร? Circular Economy หรือ เศรษฐกิจหมุนเวียน เป็นรูปแบบการผลิตและการบริโภคใหม่ เพื่อใช้ทรัพยากรทุกอย่างอย่างคุ้มค่าที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ และในขณะเดียวกันระบบธรรมชาติก็ถูกสร้างขึ้นใหม่ให้เติบโตอย่างยั่งยืนเมื่อเวลาผ่านไป แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน จึงเปรียบเสมือนการเลียนแบบธรรมชาติอย่างใกล้ชิด โดยปราศจากขยะ ซึ่งเราสามารถขับเคลื่อนการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด ลดการใช้วัตถุดิบ และนำของเก่ากลับมาใช้ใหม่ ด้วยการรีไซเคิลหรือทำให้เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งถือเป็นผลดีต่อการทำธุรกิจและเศรษฐกิจในโลกยุคใหม่

แนวคิด Circular Economy หรือเศรษฐกิจหมุนเวียน ขับเคลื่อนด้วย 3 แกนหลัก ดังนี้

  1. Reduce (การลดการใช้ทรัพยากร) เน้นการออกแบบผลิตภัณฑ์ บริการ และกระบวนการต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ใช้ทรัพยากรน้อยลง
  2. Reuse (การใช้ทรัพยากรซ้ำ) ส่งเสริมการนำผลิตภัณฑ์ วัสดุ หรือชิ้นส่วนต่างๆ กลับมาใช้ใหม่ โดยไม่ต้องผลิตใหม่ทั้งหมด
  3. Recycle (การรีไซเคิล) การแปรรูปวัสดุเหลือใช้หรือขยะ ให้กลับมาเป็นวัตถุดิบหรือผลิตภัณฑ์ใหม่

แนวคิด Circular Economy หรือ เศรษฐกิจหมุนเวียน มีประโยชน์อย่างไร?

  • ปกป้องสิ่งแวดล้อม: ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ และลดการสร้างของเสีย
  • เป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจท้องถิ่น: สร้างประโยชน์ต่อเศรษฐกิจท้องถิ่น ด้วยการสนับสนุนรูปแบบการผลิตและแปรรูป โดยการนำของเสียในบริเวณใกล้เคียงกลับมาใช้ใหม่เป็นวัตถุดิบเพื่อแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่
  • ขับเคลื่อนการสร้างงาน สร้างรายได้: ช่วยกระตุ้นการพัฒนารูปแบบอุตสาหกรรมใหม่ที่เป็นนวัตกรรมและมีการแข่งขันมากขึ้น นำไปสู่การเติบโตทางเศรษฐกิจที่สูงขึ้น และการจ้างงานที่มากขึ้น
  • เพิ่มมูลค่าของทรัพยากรท้องถิ่น: การนำทรัพยากรในท้องถิ่นกลับมาใช้ซ้ำ อาจทำให้การพึ่งพาวัตถุดิบนำเข้าน้อยลง และเพิ่มมูลค่าให้วัตถุดิบฝนท้องถิ่น
  • เสริมสร้างและพัฒนาความรู้: พัฒนางานวิจัย ส่งเสริมเครือข่ายนวัตกรรม วางโครงสร้างและเผยแพร่ข้อมูลอย่างถูกต้องและมีหลักการ

การนำแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนมาประยุกต์ใช้ จึงไม่ใช่แค่การนำของเก่ากลับมาใช้ใหม่ หรือ Reduce แต่เป็นการออกแบบระบบทั้งหมดตั้งแต่ต้น เริ่มต้นจากการเลือกใช้วัสดุที่ยั่งยืน ออกแบบผลิตภัณฑ์ให้คงทน ซ่อมแซมได้ง่าย ซึ่งแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นที่ทั่วโลกเล็งเห็นความสำคัญ แต่ถือเป็นแนวทางที่สำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ สังคม และประชากรโลกสู่ความยั่งยืน

รู้จักแนวคิด “Sustainability” กลยุทธ์สร้างธุรกิจสู่ความยั่งยืน

รู้จักแนวคิด “Sustainability” กลยุทธ์สร้างธุรกิจสู่ความยั่งยืน 

โลกกำลังเผชิญกับวิกฤตสิ่งแวดล้อมที่รุนแรงอย่างต่อเนื่อง ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของผู้คนทั่วโลก ทั้งปัญหาสภาพอากาศที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ อุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้นมากกว่าปกติ มลพิษต่างๆ และปัญหาสิ่งแวดล้อมอื่นๆ อันเนื่องมาจากหลากหลายปัจจัย โดยเฉพาะจากความต้องการของประชากรโลกในปัจจุบัน

แนวคิด Sustainability หรือ ความยั่งยืน จึงกลายเป็นเรื่องที่ผู้คนจำนวนมากกำลังให้ความสำคัญ จากผลกระทบที่เกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อมในหลายๆ ด้าน ซึ่งแนวคิดความยั่งยืนยังครอบคลุมถึงประเด็นทางเศรษฐกิจและสังคม อาทิ ความยากจน ความไม่เท่าเทียมในสังคม การละเมิดสิทธิมนุษยชน และเรื่องอื่นๆ ที่ส่งผลเสียตามมาอีกมากมาย

แนวคิด Sustainability คืออะไร? 

Sustainability หรือ ความยั่งยืน โดยทั่วไปคือความสามารถในการรักษาหรือสนับสนุนกระบวนการใดกระบวนการหนึ่งให้คงอยู่ตลอดไป แต่ในบริบททางธุรกิจเป็นแนวคิดในการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน จะมุ่งเน้นไปที่การป้องกัน ปรับปรุง หรืออนุรักษ์ทรัพยากรทางธรรมชาติหรือทางกายภาพของโลกไม่ให้หมดไป เพื่อให้ทรัพยากรเหล่านั้นยังคงอยู่ได้ในระยะยาวสำหรับคนรุ่นหลัง สร้างความสมดุลระหว่างการเติบโตทางเศรษฐกิจ การดูแลสิ่งแวดล้อม และความเป็นอยู่ที่ดีของสังคม

แนวคิด Sustainability ทำงานอย่างไร? 

“ความยั่งยืน” เป็นแนวคิดที่กำหนดให้หน่วยงานและองค์กรต่างๆ จัดทำนโยบายขึ้นมาโดยคำนึงถึงสิ่งที่เกิดขึ้นสำหรับคนรุ่นหลัง เพื่อเน้นย้ำถึงผลกระทบในอนาคต การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญต่อการดำเนินธุรกิจระบบนิเวศ และเศรษฐกิจในวงกว้าง

เนื่องมาจากความกังวลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ และมลพิษที่เพิ่มมากขึ้น จึงทำให้โลกหันมายอมรับแนวทางปฏิบัติและนโยบายและแนวคิดความยั่งยืน หรือ Sustainability โดยหลักๆ ผ่านการดำเนินธุรกิจที่ยั่งยืนและการลงทุนที่เพิ่มขึ้นในธุรกิจเทคโนโลยีสีเขียวที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

3 เสาหลักแห่งความยั่งยืน ผ่านแนวคิด Sustainability มีอะไรบ้าง?

กุญแจสำคัญสู่ความยั่งยืน จากแนวคิด Sustainability  คือ การพิจารณาผลกระทบของนโยบายหรือแนวทางปฏิบัติในการดำเนินธุรกิจ ผ่าน 3 เสาหลัก ได้แก่ สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม เพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร โดยองค์กรจะคำนึงผลลัพธ์ที่ดีและความยั่งยืนต่อผู้คน โลก และผลกำไรในการตัดสินใจ

  • ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม

ความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม มุ่งเน้นไปที่การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เพราะมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อความยั่งยืน องค์กรทุกขนาดและธุรกิจทุกประเภท สามารถเริ่มต้นได้จากการประเมินสำนักงานและสิ่งอำนวยความสะดวกภายในองค์กร โดยใช้วิธีที่ค่อนข้างง่ายในการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ได้แก่ การรีไซเคิลกระดาษ และอุปกรณ์สำนักงานอื่นๆ การจัดซื้อวัสดุรีไซเคิลที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การใช้ไฟ LED ช่วยลดการใช้พลังงาน การรณรงค์ให้ลดการเดินทางที่ไม่จำเป็น เพื่อรักษาความสมบูรณ์ของระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อมของโลกให้มีความสมดุล โดยเฉพาะทรัพยากรธรรมชาติ เช่น อากาศ น้ำ ดิน ป่าไม้ และสัตว์ ที่ถูกมนุษย์ใช้มาอย่างต่อเนื่อง

  • ความยั่งยืนด้านเศรษฐกิจ

ความยั่งยืนทางเศรษฐกิจ เป็นแนวทางปฏิบัติที่ขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจ พร้อมทั้งลดผลกระทบด้านลบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมส่วนรวมให้เหลือน้อยที่สุด ถือเป็นประโยชน์ต่อบริษัทต่างๆ โดยลดการใช้พลังงาน ของเสีย และต้นทุนอื่นๆ เพื่อดึงดูดลูกค้าและพนักงานตระหนักถึงความสำคัญด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมที่ยั่งยืน รวมทั้งลดการพึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติที่มีจำกัด โดยการส่งเสริมการใช้มาตรการต่างๆ เช่น การเพิ่มการรีไซเคิลบรรจุภัณฑ์ การส่งเสริมการใช้วัสดุรีไซเคิล เพื่อให้เกิดความยั่งยืนทางเศรษฐกิจ

  • ความยั่งยืนด้านสังคม

ความยั่งยืนทางสังคม สามารถพบรูปแบบความยั่งยืนทั้ง 3 เสาหลักที่เชื่อมโยงถึงกัน คือ สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม ผ่านการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งความยั่งยืนทางสังคม มีเป้าหมายในการเสริมสร้างความสามัคคีและความมั่นคงของคนในสังคม เพื่อให้ทุกคนสามารถบรรลุความต้องการขั้นพื้นฐานของมนุษย์ได้ ภายใต้ทรัพยากรที่เพียงพอสำหรับทุกคนในชุมชน มีระบบสังคมที่เข้มแข็ง มีสุขภาพดีและมีความสุข เคารพสิทธิมนุษยชน เช่น การใช้แรงงาน การดูแลสุขภาพ และความเท่าเทียมกัน เพื่อสร้างความยั่งยืนทางสังคมต่อไป

สร้างอนาคตสู่ความยั่งยืน ด้วยแนวคิด Sustainability

การก้าวไปสู่ความยั่งยืนถือเป็นความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ของประชากรโลก นอกเหนือจากการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรโลกแล้ว หลักปฏิบัติและการสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืน ยังสามารถผสมผสานเข้ากับแนวทางปฏิบัติที่ยั่งยืนและการดำเนินการในแต่ละวันได้ แต่จำเป็นต้องได้รับความร่วมมืออย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอจากภาคธุรกิจ หน่วยงานภาครัฐ องค์กรไม่แสวงหากำไร และในระดับบุคคล เพราะการเรียนรู้เกี่ยวกับความยั่งยืนสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ดีให้โลกของเราได้

ลด Carbon Footprint อย่างไรให้ธุรกิจยั่งยืน

“Carbon Footprint” มีวิธีลดอย่างไรให้ธุรกิจยั่งยืน

ในยุคปัจจุบัน ความยั่งยืนได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของการใช้ชีวิตประจำวันไปแล้ว องค์กรและธุรกิจจำนวนมากกำลังมองหาวิธีลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หรือ Carbon Footprint เพื่อให้สามารถปรับตัวได้เมื่อต้องเผชิญกับความท้าทายในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ ธุรกิจขนาดกลาง หรือธุรกิจขนาดเล็ก การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จึงควรเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องให้ความสำคัญ

Carbon Footprint คืออะไร? 

Carbon Footprint (คาร์บอนฟุตพรินต์) หรือ มลพิษคาร์บอน หมายถึง ปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ หรือ ก๊าซเรือนกระจก ที่ปล่อยสู่ชั้นบรรยากาศจากการทำกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์

การลด Carbon Footprint จึงมีความสำคัญต่อธุรกิจเป็นอย่างมาก เพราะนอกจากจะช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมแล้ว แต่ยังช่วยส่งเสริมการสร้างภาพลักษณ์ที่ดี เพื่อเพิ่มโอกาสทางธุรกิจและประหยัดค่าใช้จ่ายในระยะยาว

เคล็ดลับในการลด  Carbon Footprint เพื่อให้ธุรกิจยั่งยืน มีอะไรบ้าง?

ในบางธุรกิจอาจไม่สามารถหลีกเลี่ยงการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ แต่ก็วิธีการหรือกลยุทธ์ต่างๆ ที่จะสามารถนำมาใช้เพื่อช่วยลด Carbon Footprint หรือ การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของธุรกิจได้

1. เลือกใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ

ปัจจุบันมีผู้ให้บริการพลังงานสีเขียวในท้องตลาดเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ การเปลี่ยนมาใช้พลังงานหมุนเวียนจึงเป็นเรื่องง่ายกว่าที่เคยเป็นมาก รวมทั้งการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น เลือกใช้หลอดไฟฟ้าแบบ LED, ติดตั้งระบบพลังงานแสงอาทิตย์หรือโซลาร์เซลล์, ปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าเมื่อไม่ได้ใช้งาน, ตรวจสอบและซ่อมแซมระบบไฟฟ้าหรือเครื่องปรับอากาศอย่างสม่ำเสมอ เพื่อลดการใช้พลังงานอย่างสิ้นเปลือง

2. การจัดการขยะอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ

การดำเนินธุรกิจในปัจจุบัน ผ่านกระบวนการต่างๆ มากมาย เช่น การผลิต การขนส่ง การบริโภค และการกำจัดวัสดุ ซึ่งทำให้เกิดการปล่อย Carbon Footprint หรือ ก๊าซเรือนกระจก เป็นจำนวนมาก การลดปริมาณขยะวิธีการที่สามารถทำได้ในระยะสั้นและมีประสิทธิภาพ ด้วยการจัดการขยะอย่างถูกต้อง เช่น คัดแยกขยะตามประเภท, การนำขยะรีไซเคิลกลับมาใช้ใหม่, ลดการใช้บรรจุภัณฑ์หรือพลาสติก, เปลี่ยนมาใช้บรรจุภัณฑ์ที่ย่อยสลายได้ ซึ่งวิธีการที่สามารถตอบแทนสิ่งแวดล้อมได้ทันที

3. ใช้การขนส่งที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

การเดินเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่สร้างคาร์บอนมากที่สุดจากกลุ่มธุรกิจ ทั้งจากการเดินทางพนักงาน และผู้บริหารของบริษัท การขนส่งสินค้าของบริษัท ซึ่งมีหลายวิธีที่สามารถทำได้เพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนที่เกี่ยวข้องกับการเดินทาง เช่น การเดินทางโดยรถไฟหรือระบบขนส่งสาธารณะ ขี่จักรยาน หรือเดิน ส่งเสริมการใช้รถร่วมกัน (Carpooling), เลือกใช้รถขนส่งที่มีประสิทธิภาพและปล่อยมลพิษน้อย, วางแผนการขนส่งให้มีประสิทธิภาพ และวิธีการอื่นๆ อีกมากมายที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

4. เพิ่มการมีส่วนร่วมในโครงการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

กลุ่มธุรกิจหรือบริษัทที่ใหญ่ที่สุด และประสบความสำเร็จมากที่สุดในโลก กำลังดำเนินการสร้างแคมเปญหรือโครงการต่างๆ ที่เป็นการสนับสนุนประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งทุกบริษัทก็สามารถทำได้เช่นกัน ทั้งการบริจาคเงินหรือการสนับสนุนทรัพยากรที่มีส่วนช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เพื่อขับเคลื่อนให้สังคมตระหนักและเล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม

5. ให้ความรู้และการมีส่วนร่วมของพนักงาน

การศึกษาเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อเป็นพลังในการขับเคลื่อนองค์กรสู่การเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น และประสบความสำเร็จอย่างแท้จริง พนักงานของบริษัทจึงเป็นกุญแจสำคัญในการประสบความสำเร็จบนความท้าทาย ดังนั้น จึงจำเป็นต้องให้ความรู้และสร้างความเข้าใจแก่พนักงานในองค์กรเกี่ยวกับ Carbon Footprint, จัดกิจกรรมรณรงค์และสร้างแรงจูงใจให้พนักงาน, ส่งเสริมให้พนักงานมีส่วนร่วมในการลด Carbon Footprint รวมทั้งเรื่องอื่นๆ ที่จะช่วยผลักดันให้เกิดผลดีและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อนำไปสู่ธุรกิจที่ยั่งยืน

การลด Carbon Footprint ถือเป็นภารกิจ ที่ทุกคนต้องร่วมมือกัน เพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไปสู่ชั้นบรรยากาศ ลดต้นทุนด้านพลังงาน ปกป้องทรัพยากรและโลก ที่ทุกคนจำเป็นต้องใช้ในการดำเนินธุรกิจและเจริญเติบโต ทุกธุรกิจสามารถเป็นผู้นำในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง โดยการนำแนวทางต่างๆไปปรับใช้ เพื่อร่วมกันสร้างธุรกิจที่ยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และสร้างอนาคตที่ดีกว่าให้กับโลกของเรา

วิกฤตขยะล้นโลก เมื่อไม่ได้รับการจัดการที่ถูกต้อง

“วิกฤตขยะล้นโลก” มลพิษสะสมเมื่อไม่ได้รับการจัดการอย่างถูกต้อง 

“ปัญหาขยะล้นโลก” กำลังเป็นภัยคุกคามที่เกิดจากการจัดการขยะที่ไม่ถูกต้อง จนก่อให้เกิดปัญหาขยะที่เพิ่มขึ้นทั่วโลกและทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นทุกวัน ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจนเกิดมลพิษ สุขภาพและคุณภาพชีวิตของมนุษย์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ หากไม่ได้รับการจัดการอย่างถูกต้อง เพราะขยะเหล่านี้กำลังกลายเป็นแหล่งสะสมของมลพิษ ที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์และสิ่งแวดล้อมทั่วโลก

ภัยคุกคามและผลกระทบที่เกิดจากปัญหาขยะล้นโลก มีอะไรบ้าง?  

  1. มลพิษทางดิน: ขยะอินทรีย์ที่ย่อยสลายได้ เช่น เศษอาหาร ใบไม้ เมื่อไม่ได้รับการจัดการอย่างถูกต้อง จะส่งผลเสียต่อคุณภาพของดิน ทำให้ดินเสื่อมโทรม สูญเสียความอุดมสมบูรณ์ ส่งผลต่อระบบนิเวศและการเกษตรในระยะยาว
  2. มลพิษทางน้ำ: ขยะพลาสติก เศษขยะต่างๆ เป็นมลพิษที่ไหลลงสู่แหล่งน้ำ จะส่งผลเสียต่อระบบนิเวศทางน้ำ เป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำ และอาจปนเปื้อนในน้ำที่ใช้สำหรับอุปโภคบริโภค ก่อให้เกิดโรคต่างๆ รวมถึงปัญหาน้ำท่วมที่เกิดจากการอุดตันของท่อระบายน้ำ
  3. มลพิษทางอากาศ: การเผาไหม้ขยะ โดยเฉพาะขยะพลาสติก จะปล่อยก๊าซพิษสู่ชั้นบรรยากาศ จนเกิดภาวะของอากาศที่มีสารเจือปนอยู่ในปริมาณที่มาก ซึ่งเป็นสาเหตุของภาวะโลกร้อน สภาพอากาศที่แปรปรวนฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) และปัญหาสุขภาพระบบทางเดินหายใจ
  4. ปัญหาสุขภาพ: ขยะที่ไม่ได้รับการจัดการอย่างถูกต้อง เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของสัตว์ที่เป็นพาหะนำโรค เช่น ยุง แมลงวัน และสัตว์มีพิษชนิดอื่นๆ ซึ่งอาจก่อให้เกิดโรคต่างๆ ตามมาได้ เช่น โรคไข้เลือดออก โรคมาลาเรีย โรคเท้าเน่าเปื่อย และโรคระบบลำไส้ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
  5. ภาวะโลกร้อน: การย่อยสลายขยะอินทรีย์ในหลุมฝังกลบ จะปล่อยก๊าซมีเทน ซึ่งเป็นก๊าซเรือนกระจกที่ก่อให้เกิดภาวะโลกร้อน ส่งผลต่อสภาพภูมิอากาศของโลก จนนำไปสู่ภัยทางธรรมชาติในรูปแบบต่างๆ เช่น น้ำท่วม พายุ ปรากฏการณ์ลานีญา-เอลนีโญ และเหตุการณ์ทางธรรมชาติอื่นๆ ที่ส่งผลกระทบต่อประชากรโลก

มีวิธีแก้ไขปัญหาขยะล้นโลกอย่างไรบ้าง

  • ลดการผลิตขยะ: เลือกซื้อสินค้าที่จำเป็น หลีกเลี่ยงการใช้บรรจุภัณฑ์ที่สิ้นเปลือง หรือเลือกใช้สินค้าที่สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้ เพื่อช่วยลดปริมาณขยะ
  • การคัดแยกขยะ: ทิ้งขยะอย่างถูกวิธีโดยการแยกขยะตามประเภท ขยะอินทรีย์ ขยะรีไซเคิล ขยะอันตราย เพื่อนำไปจัดการอย่างถูกต้อง
  • การรีไซเคิล: นำขยะรีไซเคิลกลับมาใช้ใหม่ เพื่อช่วยลดปริมาณขยะ ประหยัดทรัพยากรธรรมชาติ และลดมลพิษที่จะเกิดขึ้นกับสิ่งแวดในอนาคต
  • ลดการใช้พลาสติก: หลีกเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์จากพลาสติก และภาชนะพลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้ง เลือกใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติก พกกระบอกน้ำส่วนตัว หรือหันมาใช้ผลิตภัณฑ์ที่สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้
  • การรณรงค์: ร่วมรณรงค์ให้เกิดความตระหนักและความรู้เกี่ยวกับปัญหาขยะ เพื่อกระตุ้นให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการลดขยะ คัดแยกขยะ และรีไซเคิล อย่างถูกต้อง

การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและภัยธรรมชาติ เป็นเครื่องเตือนใจให้ทั่วโลกได้รตระหนักถึงความสำคัญของการจัดการขยะที่ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ เมื่อมีการนำแนวทางการแก้ไขไปใช้อย่างถูกต้องและเหมาะสมในการจัดการปัญหาขยะ ก็จะสามารถลดปริมาณขยะและลดปัญหาสิ่งแวดล้อมไม่ให้ทวีความรุนแรงได้

วิกฤตขยะล้นโลก จึงถือเป็นปัญหาที่ประชากรทุกคนในโลกต้องร่วมมือร่วมใจกันแก้ไข ซึ่งสามารถเริ่มต้นได้ที่ตัวเรา ทั้งการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน ลดการผลิตขยะ คัดแยกขยะอย่างถูกวิธี มีการรีไซเคิล เพื่อร่วมกันสร้างสังคมที่ปลอดขยะและสิ่งแวดล้อมสะอาด จนนำไปสู่โลกที่ยั่งยืนต่อไปในอนาคต

แยกกระดาษอย่างถูกวิธี แยกเป็น สร้างรายได้

แยกกระดาษอย่างถูกวิธี แยกเป็นแล้วสร้างรายได้

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาทั่วโลกได้มีการรณรงค์ให้ลดการใช้กระดาษ ทั้งการใช้ซ้ำ 2 หน้า หรือการนำไปรีไซเคิล (Recycle) ก็เป็นกระแสที่ทั่วโลกให้ความสนใจ เพราะกระดาษยังเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องใช้ แต่หากมีการใช้มากเกินไปก็จะเป็นอีกปัจจัยที่ทำลายสิ่งแวดล้อมได้ เนื่องจากวัตถุดิบที่นำมาทำกระดาษนั้น คือต้นไม้ รวมถึงขั้นตอนในการผลิตที่ปล่อยของเสียสู่ธรรมชาติ

กระดาษรีไซเคิล (Recycle) จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่จะช่วยลดการทำลายสิ่งแวดล้อม เพราะเป็นกระดาษที่ผ่านการใช้งานมาแล้ว แต่ถูกนำกลับมาใช้ประโยชน์อีกครั้ง โดยต้องผ่านกระบวนการหมุนเวียนทำขึ้นมาใหม่ เพื่อตอบสนองความต้องการในการใช้งานด้านต่างๆ ได้อย่างเพียงพอ ซึ่งหากคัดแยกกระดาษได้อย่างถูกวิธี จนแยกเป็นตามประเภทแล้ว ก็สามารถเพิ่มมูลค่าให้กระดาษและสร้างรายได้ได้เช่นกัน

โดยกระบวนการรีไซเคิลกระดาษนั้น ก่อนที่จะถูกส่งไปยังโรงงานกระดาษ จะต้องมีการคัดแยกกระดาษที่ถูกต้อง มีการจัดเรียงตามประเภทและหมวดหมู่ เพื่อให้กระดาษจากแต่ละประเภทสามารถนำไปรีไซเคิลเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่อีกครั้ง

การแยกกระดาษ มีทั้งหมดกี่ประเภท

สำหรับกระดาษที่จะสามาถนำกลับมารีไซเคิลได้ จะต้องมีการคัดแยกอย่างถูกวิธี ซึ่งสามารถคัดแยกได้ตามหมวดหมู่ที่ทางโรงงานกระดาษ ได้แบ่งไว้เป็นกระดาษเกรดต่างๆ ดังนี้

1. กระดาษเกรด A กระดาษออฟฟิศ กระดาษปริ๊นเตอร์ กระดาษขาว

2. กระดาษเกรด B กระดาษลัง กระดาษกล่อง นิตยสาร

3. กระดาษเกรด C กระดาษหนังสือพิมพ์ กระดาษโฆษณา กระดาษลูกฟูก

4. กระดาษอื่นๆ กระดาษทิชชู่ กระดาษชำระ ถ้วยกาแฟ กระดาษไข

การแยกกระดาษอย่างถูกวิธี ต้องทำอย่างไร

การแยกกระดาษอย่างถูกวิธี นอกจากจะช่วยแบ่งหมวดหมูกระดาษให้ถูกต้อง เมื่อแยกเป็นแล้ว ยังสามารถเพิ่มมูลค่าให้กระดาษและสร้างรายได้ จากการนำกระดาษไปจำหน่ายให้โรงงานกระดาษ เพื่อรีไซเคิลขึ้นมาใหม่ ซึ่งสามารถแยกได้ตามขั้นตอนง่ายๆ ที่ทุกคนสามารถทำได้ดังนี้

ขั้นตอนที่ 1: แยกกระดาษตามประเภท

ขั้นตอนที่ 2: ลอกสติ๊กเกอร์ออกจากกระดาษ

ขั้นตอนที่ 3: ทำความสะอาดกระดาษ เช่น จุดที่มีรอยเปื้อนมากๆ, เศษกระดาษที่ปนมากับกล่องลัง เป็นต้น

เมื่อพูดถึงปริมาณการใช้กระดาษในยุคปัจจุบัน คนไทยมีการใช้กระดาษเฉลี่ยปีละ 3.9 ล้านตัน หรือ คนละประมาณ 60 กิโลกรัมต่อปี ซึ่งเมื่อต้องตอบสนองความต้องการให้เพียงพอต่อการใช้กระดาษของคนไทย จึงต้องมีการตัดต้นไม้มากถึง 66.3 ล้านตันต่อปี หรือหากเทียบกับเวลา ในทุกๆ 1 นาที จะมีการตัดต้นไม้กว่า 126 ตัน

ดังนั้น การรีไซเคิลกระดาษและการคัดแยกกระดาษอย่างถูกวิธี จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่จะช่วยลดปริมาณการตัดต้นไม้บนผืนป่า ในการนำมาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตกระดาษ เพื่อคืนพื้นที่สีเขียวที่อุดมสมบูรณ์ให้กับโลก และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมให้คงอยู่ถึงคนรุ่นหลังอย่างยั่งยืนต่อไป

ขอบคุณข้อมูลจาก: โครงการกระดาษเพื่อต้นไม้ โดย มูลนิธิศูนย์สื่อเพื่อการพัฒนา

Sustainable Packaging เมื่อผู้บริโภคเรียกร้องบรรจุภัณฑ์รีไซเคิลได้

“Sustainable Packaging” บรรจุภัณฑ์ยั่งยืน เทรนด์ที่ผู้บริโภคทั่วโลกให้ความสนใจ  

ในยุคที่ทั่วโลกกำลังเผชิญกับความท้าทายเรื่องการจัดการปัญหาขยะ แนวคิดเรื่อง “Sustainable Packaging” หรือ “บรรจุภัณฑ์ยั่งยืน” ซึ่งเป็นบรรจุภัณฑ์รีไซเคิลได้ กำลังกลายเป็นเทรนด์สำคัญที่ผู้บริโภคทั่วโลกเรียกร้อง และให้ความสำคัญมากขึ้นในอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ เพื่อให้เกิดความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

Sustainable Packaging หรือ บรรจุภัณฑ์ยั่งยืน คืออะไร? 

บรรจุภัณฑ์ยั่งยืน คือ บรรจุภัณฑ์ที่ผลิตจากวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สามารถย่อยสลายได้ง่ายตามธรรมชาติ รวมถึงการรีไซเคิลนำกลับมาใช้ใหม่ได้ ซึ่งถูกออกแบบมาเพื่อคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

ทำไมบรรจุภัณฑ์ยั่งยืนถึงได้รับความนิยมจากผู้บริโภค

  • ผู้บริโภคให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม

ผู้บริโภคยุคใหม่เริ่มตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อม และหันมาเลือกซื้อสินค้าที่ผลิตจากวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม Sustainable Packaging หรือ บรรจุภัณฑ์ยั่งยืน จึงเป็นตัวเลือกที่ตอบโจทย์สำหรับคนยุคใหม่

  • กฎหมายด้านสิ่งแวดล้อมที่เข้มงวด

หลายประเทศทั่วโลกได้กำหนดกฎระเบียบและกฏหมายด้านสิ่งแวดล้อมที่เข้มงวดขึ้น ส่งผลต่อบรรจุภัณฑ์ที่ใช้ในอุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภค ธุรกิจต่างๆ จึงต้องหันมาใช้บรรจุภัณฑ์ยั่งยืนมากขึ้น

  • การส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีต่อธุรกิจ

การใช้บรรจุภัณฑ์ยั่งยืน ช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่ดีต่อแบรนด์หรือธุรกิจได้ แสดงให้เห็นถึงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม เพื่อดึงดูดลูกค้าที่ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม

ประโยชน์ของบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีอะไรบ้าง?

  • ลดปริมาณขยะ

การใช้ “Sustainable Packaging” เป็นบรรจุภัณฑ์ที่สามารถย่อยสลายได้ง่าย หรือผ่านกระบวนการผลิตที่คำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับบรรจุภัณฑ์ที่ย่อยสลายได้ยาก

  • อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ

การใช้บรรจุภัณฑ์ยั่งยืน หรือบรรจุภัณฑ์รีไซเคิลได้ ช่วยลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ เพราะวัสดุเหล่านี้ได้มาจากแหล่งหมุนเวียนซึ่งใช้ทรัพยากรในการผลิตน้อยลง จึงช่วยอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพของโลก

  • ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน

บรรจุภัณฑ์ยั่งยืน มีกระบวนการผลิตที่สร้างก๊าซเรือนกระจกน้อยลง ซึ่งช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนในชั้นบรรยากาศโลก เป็นอีกหนึ่งวิธีที่สามารถลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้

  • ลดมลพิษ

การผลิตบรรจุภัณฑ์ยั่งยืน ปล่อยมลพิษน้อยกว่าการผลิตบรรจุภัณฑ์ทั่วไป เพราะบริษัทต่างๆ ในอุตสาหกรรมการผลิต จะหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีที่เป็นอันตรายและสามารถซึมลงสู่ทางน้ำ หรือทางอากาศได้ จึงมีส่วนช่วยในการลดมลพิษ และปกป้องระบบนิเวศได้

  • สร้างภาพลักษณ์ที่ดีต่อธุรกิจ

การใช้บรรจุภัณฑ์ยั่งยืน หรือ Sustainable Packaging ช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่ดีต่อแบรนด์หรือธุรกิจได้ เพราะเป็นการแสดงให้เห็นถึงความรับผิดชอบต่อสังคม และสิ่งแวดล้อม

“Sustainable Packaging” หรือ บรรจุภัณฑ์ยั่งยืน ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม กำลังเป็นเทรนด์ที่ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องจากผู้บริโภคทั่วโลก ซึ่งเมื่อผู้บริโภคตระหนักถึงสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ธุรกิจต่างๆ จึงต้องปรับตัวและจัดหาทางเลือกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น แทนการใช้บรรจุภัณฑ์แบบเดิมที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

บรรจุภัณฑ์ยั่งยืน หรือบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ล้วนแต่ก่อให้เกิดประโยชน์ด้านสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคมหลากหลายประการ ท่ามกลางความท้าทายเมื่อเปลี่ยนไปใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งในระยะยาวจะถือเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า สร้างอนาคตที่ยั่งยืนให้กับคนรุ่นต่อๆ ไปได้